วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์

การทำงานของคอมพิวเตอร์
ก็เหมือนกับสมองของคนเรา คือ รับข้อมูลมา แล้วนำข้อมูลไปประมวลผล หลังจากนั้นก็จะแสดงผลออกมา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าทุกส่วนนั้นมีการทำงานที่สัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยจะมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักก็คือ Input Process และ Output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : การรับข้อมูลและคำสั่ง (Input)คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งเข้าเครื่องผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง แต่ถ้าเป็นการสแกนรูปภาพหรือข้อความเข้าไปไว้ในเครื่องก็จะใช้สแกนเนอร์ (Scanner) หรือถ้าเป็นการเล่นเกมส์ก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้นขั้นตอนที่ 2 : การประมวลข้อมูล (Process)หลังจากนำข้อมูลเข้ามาแล้วนั้น เครื่องก็จะนำข้อมูลหรือคำสั่งไปประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการขั้นตอนที่ 3 : การแสดงผลลัพธ์ (Output)เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลให้ทราบ ซึ่งโดยทั่วไปจะแสดงผลผ่านทางจอภาพ (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น
www.courseware.kbu.ac.th/EL/basic_computer/chapter/1/lesson1-6.htm - 18k -

การทำงานของคอมพิวเตอร์
ลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วย (Units) ที่ทำหน้าที่ต่างกัน 4 หน่วย คือ
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นตัวกลางในการรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard)และสแกนเนอร์ (Scanner) โดยพิมพ์หรือวาดรูป เข้าไปในเครื่อง
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ซึ่งจะควบคุมการทำงาน ทั้งหมดของเครื่อง
3. หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ เครื่องไว้ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ
3.1 ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่ทำหน้าที่อ่านข้อมูลเพียงอย่างเดียว
3.2 RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำรองที่ทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลไว้ชั่วคราวซึ่งหากเราปิดเครื่องจะทำให้ข้อมูลสูญหายได้
4. หน่วยแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ผ่านการดำเนินการตามกรรมวิธีจากหน่วยความจำ แสดงออกมาในรูปแบบที่อ่านเข้าใจได้ง่าย อาจจะอยู่ในรูป รายงาน ตาราง กราฟ หรือรูปภาพ โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์หรือจอภาพ เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ในการจำแนก
1. แบ่งตามหลักการประมวณผล
คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer)
หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัด การวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว
คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)
ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับ ทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลา (Clock Time) มาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น
www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu3.htm-5k-
2. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special Purpose Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุม ให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุม หรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็ว เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์ หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ได้โดยสะดวก โดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา และเมื่อผู้ใช้ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไร ก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งาน โดยเราสามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ เช่น ในขณะหนึ่งเราอาจใช้เครื่องนี้ในงานประมวลผลเกี่ยวกับระบบบัญชี และในขณะหนึ่งก็สามารถใช้ในการออกเช็คเงินเดือนได้ เป็นต้น
3. แบ่งตามความสามารถของระบบ
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
2. แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer

ประเภทของคอมพิวเตอร์
สามารถจำแนกได้หลายประเภทตามหลักดังนี้
ก. จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับจากแหล่งที่เกิดโดยตรง ในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่องแล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพ
2. ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักการนับ รับข้อมูลในลักษณะของตัวเลขและให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลขต่อเนื่องแล้วแสดงผลลัพธ์ที่ได้จะแม่นยำกว่าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) คอมพิวเตอร์ชนิดนี้นำเอาข้อดีของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์และดิจิตอลคอมพิวเตอร์มารวมกันเพื่อให้สามารถใช้กับงานทั้งสองด้านได้

www.vod.msu.ac.th/0503760/Main.asp - 17k

การจำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์นั้น ต้องมีกฎเกณฑ์ในการจำแนกหลากหลายกันออกไป มิใช่ตัวใดตัวหนึ่ง

คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ความหมายของคอมพิวเตอร์
1. หมวดวิชาคอมพิวเตอร์โรงเรียนยุพราวิทยาลัยเชียงใหม่(www.yupparaj.ac.th/CAI/CAI)
คอมพิวเตอร์หมายถึง คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับหรือคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกสืแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในเครื่องต่อไปและยังสามารถจัดการกับสัญลักณ์ได้ด้วยความเร็วสูง
2. คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาช่วยในการทำงานที่สลับซ้ำซ้อนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและยังสามารถเก็บข้อมูลหรือชุดคำสั่งต่างๆได้อย่างมากมาย แล้วจึงทำการประมวณผลที่เกืบไว้ตามคำสั่งได้อย่างอัตโนมัติภายหลัง
www.bcc.rmutp.ac.th/informations/comhtml
3. คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องประมวลผลที่จัดให้ข้อมูลดิบอยู่ในรูปแบบที่สื่อความหมายเหมาะกับการนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้จำนวนมาก สามารถคำนวณเปรียบเทียบข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ ในเวลาเพียงเศษส่วนของวินาที คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนของโปรแกรม สามารถเปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ได้ ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ (Computer)อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจัดการกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูงโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม สามารถประมวลผลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร และภาพต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วตามลักษณะโปรแกรมที่ใช้ สามารถเก็บบันทึกสารสนเทศได้จำนวนมาก และแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ เครื่องพิมพ์ และอื่น ๆ ได้หลายลักษณะ
www.vod.msu.ac.th/0503760/Main.asp-17k